วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

สีสัน...เสน่ห์ในสวน


สีสันหลากหลายช่วยสร้างเสน่ห์ให้กับสวน
มองไปทางนั้นก็สดใส ทางนี้ก็สดชื่นเบิกบาน
แสนสบายตาสบายใจ









 














ผีเสื้อตัวใหม่


วิ่งตามเจ้าผีเสื้อตัวใหญ่
พอเราหยุดนิ่ง...มันก็นิ่ง
พอเราขยับวิ่ง...มันก็ไหว
สุดท้าย...มันก็บินไปแสนไกล
เราถอดใจเลยหยุดตาม












วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

นกบั้งรอกใหญ่

ในที่สุดก็รู้แล้วว่า เจ้านกที่เห็นแต่ข้างหลังนั้น มันคือนกอะไร
มันนั่งหันหลังให้ตั้งนาน กว่าจะเจอมันอีกที
ดูหน้าให้ชัดๆ


เรื่อง...หมู..หมู

การ์ตูนหมูๆ วันนี้เอามาฝากเพิ่มจ้าา
ไว้คิดออกจะมาเพิ่มให้ใหม่อีกนะ



















นกเอี้ยง...เลิกเลี้ยงควายเฒ่า


นกเอี้ยงสาริกา
พบเจอเจ้าตัวนี้ได้ทุกวันเลย เห็นมันบินเป็นคู่ น่าอิจฉาจริงๆ มันคงไม่เหงา
แถมยังมีอิสระเสรีบินไปไหนมาไหนก็ได้ด้วย

นกเอี้ยงสาริกา หรือ นกเอี้ยงสาลิกา หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า นกเอี้ยง
 (อังกฤษ: Common myna, Indian myna, Mynah; ชื่อวิทยาศาสตร์: Acridotheres tristis) เป็นนกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (Sturnidae)
 
      ลักษณะ  ปากและขาสีเหลือง หัว คอ  และอกช่วงบนสีดำ มีสีเหลืองสดที่หน้า
ขนปกคลุมลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ปีกมีแถบขาว โคนหางด้านล่างและปลายหางสีขาว
      พฤติกรรม  เป็นนกเอี้ยงที่สามารถปรับตัวเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองได้ดี พบเดินและกระโดด
หากินใกล้แหล่งชุมชน กินอาหารได้หลายอย่าง กินแมลงและ เมล็ดพืชต่าง ๆ รวมทั้งผลไม้เป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามชายทุ่ง พื้นที่ทำการเกษตรใกล้หมู่บ้าน อาจอยู่เป็นคู่หรือรวมฝูง ชอบลงมาหากินอยู่ตามพื้นดิน ขณะหาอาหารมักส่งเสียงร้องไปด้วย มีฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ทำรังตามชายคาบ้านเรือนหรือตามต้นไม้ด้วยกิ่งไม้ หรือใบหญ้าแห้ง วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ผลัดกันกกไข่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ประมาณ 14 วัน ไข่จึงฟักเป็นตัว พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ อินเดีย, อัฟกานิสถาน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค และปัจจุบันได้ถูกนำเข้าไปในบางพื้นที่ที่ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมด้วย

เป็นนกอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535









วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

นกตีทอง

  
ได้ยินเสียงร้องบนยอดไม้สูง
 แล้วก็หายไป ยังไม่โผ่ลมาให้ได้ชื่นชมกันอีกเลย


นกตีทอง Coppersmith Barbet
ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalaima haemacephala
       นกตีทอง เป็น นกโพระดกขนาดเล็กที่สุด มีขนาดลำตัวประมาณ 16 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน ขนด้านบนตัวมีสีเขียวสด หน้าอกมีแถบสีแดง และด้านใต้ตัวมีลายสีเขียวขนาดเล็ก คอเป็นสีเหลือง รอบตามีสีเหลืองและบนหัวมีแถบสีแดง ปากมีสีดำและมีขนแข็ง นกโตไม่เต็มวัยไม่มีสีแดงที่หน้าผาพบในทวีปเอเชียแถบประเทศปากีสถาน จีน สุมาตรา ฟิลิปปินส์และในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค นกตีทองชอบกินเมล็ดพืช ผลไม้ และ แมลงบางชนิดเป็นอาหาร ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งตามสวนใกล้หมู่บ้าน มักอยู่แต่เฉพาะบนต้นไม้ ไม่ลงมาบนพื้นดิน ส่งเสียงร้องคล้ายเสียงค้อนเคาะโลหะซ้ำๆ ดัง "ต๊ง ต๊ง"
     นกตีทองทำรังอยู่ตามโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง และช่วยกันกกไข่ทั้งตัวผู้และตัวเมีย


 จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535




นกเขา...ไม่ใช่นกเรา


ได้ยินเสียงเจ้าตัวนี้ขันคูทุกวันเลย
เลยไปแอบดู อ๋อเจ้านกเขาชวานี่เอง มาทำรังอยู่บนต้นไม้หน้าบ้านด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าตัวนี้

นกเขาชวา หรือ นกเขาเล็ก หรือ นกเขาแขก  (อังกฤษ: Zebra dove; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geopelia striata-เป็นภาษาละติน แปลว่า "รอยไถ" หรือ"ลาย" มีความหมายว่า "นกเขาที่มีลาย") เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbridae)
มีรูปร่างเหมือนกับนกชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันนี้ทั่วไป มีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว ขนาดเมื่อโตเต็มที่ไม่เกิน 8-9 นิ้ว
มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง, ป่าละเมาะ, ชายทุ่งและบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่หรือลำพังเพียงตัวเดียว แต่ไม่ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักร้องบ่อย ๆ ในเวลาเช้าและเวลาเย็น มีถิ่นกระจายพันธุ์ในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย จนถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
นกตัวผู้จะมีลักษณะทั่วไปใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หัวใหญ่ค่อนข้างยาว มีสีขาวที่หน้าผากสีขาวมากยาวถึงกลางหัว ขณะที่ตัวเมียหัวกลมเล็กและสีขาวที่ส่วนหัวจะไม่ยาวเท่า และมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย เช่น หางที่ตัวเมียจะยกแอ่นกว่าตัวผู้ และเกล็ดที่ข้อเท้าจะละเอียดเล็กกว่าตัวผู้
นกเขาชวา เป็นนกที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ ซ้ำยังมีเสียงร้องที่ไพเราะ จึงเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับฟังเสียง จนกลายเป็นวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายู โดยเชื่อว่ามีมาจากเกาะชวา มีการจัดแข่งขันประกวด การเพาะขยายพันธุ์ ก่อตั้งเป็นชมรมหรือสมาคมต่าง ๆ ซึ่งในตัวที่มีเสียงร้องไพเราะอาจมีราคาสูงถึงหลักล้านบาท ตลอดจนแตกแขนงกลายเป็นอาชีพอื่น ๆ ต่อด้วย เช่น ประดิษฐ์กรงนกขาย
นกเขาชวา ในปัจจุบันกลายเป็นนกประถิ่นในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จากการที่ถูกนำเข้ามาในฐานสัตว์เลี้ยง  และไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองแต่ประการใด